ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

week2 เรื่องราวที่นักเรียนสนใจ(1) ดาบสองมือ

                          " สวัสดีค่าาาาา  เจอกันอีกแล้วน้าา วันนี้อยากจะมาเสนอสิ่งที่ตัวเองชอบล้วนๆเลย ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง "

กีฬาดาบสองมือ


ดาบไทย


ประวัติความเป็นมาของวิชาดาบสองมือ
 ดาบสองมือ  เป็นกีฬาประเภทการต่อสู้ป้องกันตัวดั้งเดิมของไทยชนิดหนึ่ง  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นกระบี่กระบอง  ได้ดัดแปลงมาจากลักษณะและรูปแบบการรบในสมัยโบราณ  การรบในสมัยโบราณเป็นการรบที่ใกล้ตัวในระยะประชั้นชิด  อาวุธที่ใช้นอกจากดาบแล้วยังมี  กระบี่  โล่  ดั้ง  ง้าว  ทวน  พลอง  เป็นต้น กีฬาการเล่นดาบสองมือเป็นการรบจำลองนั่นเอง  เป็นการเอาหวายมาทำเป็นดาบแล้วจัดมาตีกันเล่นหรือแข่งขันกันเป็นคู่ๆ  ดุจจะสู้กันในสนามรบกันตัวต่อตัว  (นาค เทพหัสดิน    อยุธยา  ๒๕๑๓ : ๖)

ในสมัยก่อนที่จะตั้งกรุงสุโขทัยเป็นเมืองหลวง  ได้มีการพบซากและร่องรอยของเมืองโบราณอยู่ทั่วไปในแผ่นดินไทย  เช่น  ภาคกลางปรากฏมีร่องรอยของวัฒนธรรมแบบทวาราวดี  ภาคใต้มีปรากฏร่องรอยวัฒนธรรมแบบศรีวิชัย  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนล่างก็มีร่องรอยของวัฒนธรรมแบบลพบุรี  ซึ่งแต่ละภาคมีวัฒนธรรมโบราณหลงเหลืออยู่เหล่านี้  ล้วนมีหลักฐานที่แสดงถึงรูปแบบอาวุธที่ใช้ในการรบอยู่  ทั้งจากปูนปั้นเล่าเรื่องประดับรอบฐานเจดีย์  ภาพสลักตามระเบียง  ทับหลังของปราสาทหิน  ตลอดจนประติมากรรมลอยตัวอื่นๆ  ซึ่งอาวุธที่มีมากได้แก่  ดาบ  ธนู  หน้าไม้  หอก  ง้าว  เป็นต้น  ( ณัฐภัทร  จันทวิช  ๒๕๒๕ : ๔๐๑ )

 สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี  ประเทศไทยยังมีการทำสงครามอยู่เป็นประจำ  จึงมีการรบรวบรวมไพร่พลฝึกหัดการต่อสู้ด้วยการใช้อาวุธ  และการใช้อวัยวะในร่างกายในการทำร้ายคู่ต่อสู้หรือที่เรียกว่า  การต่อสู้ด้วยมือเปล่า  ( ประกอบ  โชประการ ๒๕๐๘ : ๖๐ )  เด็ก ชายไทยทุกคนไม่ว่าเป็นลูกของสามัญชนหรือลูกกษัตริย์จะต้องได้รับการฝึกฝนการ ใช้อาวุธพร้อมๆ ไปกับการเรียนหนังสือและการฝึกวิชาชีพต่างๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเตรียมพร้อมในการทำสงครามกับชาติที่มารุกราน  สถานที่ที่ใช้สำหรับฝึกหัดได้แก่  สำนักต่างๆและวัดวาอาราม  ผู้สอนคือพระภิกษุและชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถทางด้านกระบี่กระบอง  การเรียนสมัยก่อนมุ่งภาคปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎี  การจดเป็นลายลักษณ์อักษรไม่มี  สมัยต่อมามีการดัดแปลงแก้ไขให้เรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  พยายามอบรมสั่งสอนเป็นขั้นตอน  มีระเบียบแบบแผนและพยายามค้นคว้าและเขียนเป็นตำราขึ้น  โดยการสันนิษฐานจากประสบการณ์  การไต่ถามผู้รู้แล้วตั้งเป็นทฤษฎีเป็นหลักเกณฑ์ขึ้น  ( สมบัติ  จำปาเงิน  ๒๕๒๕ : 

ในปัจจุบัน  การเล่นดาบสองมือยังได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไป  จะเห็นได้จากมีคณะและสำนักดาบเกิดขึ้นอย่างมาก  เช่น  สำนักดาบศรีบุญยานนท์  สำนักดาบพุธไธสวรรค์  สำนักดาบศรีไตรรัตน์  เป็นต้น  และมีการแสดงในงานสมโภชต่างๆโดยทั่วไป  โดยเฉพาะที่ท้องสนามหลวง  มีการแสดงเป็นประจำทุกปี  เพื่อเป็นการเผยแพร่และคงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมไทย
วิชาดาบสองมือ  ถือว่าเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาติ  เพราะเป็นการเล่น การแสดงและเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยอาวุธไทยสมัยโบราณ  ซึ่งสามารถใช้อาวุธ  รุก  รับ  ทำร้ายคู่ต่อสู้ได้  สามารถใช้หมัด  ศอก  เข่า  เท้า  ประกอบการต่อสู้เป็นพฤติกรรมที่เกิดจาการเรียนรู้  ทัศนคติ  ค่านิยมและความเชื่อ  เป็นสิ่งที่ชาวไทยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ  เป็นกีฬาที่มีการผสมผสานระหว่างของเก่ากับของใหม่เข้าด้วยกัน  เป็นสภาพที่มั่นคงยิ่งขึ้น  เช่น  มีกฎ  กติกา  ระเบียบวินัยในการแข่งขัน  รวมทั้งมีการตัดสินแพ้ชนะด้วยคะแนน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเหตุการณ์  ซึ่งมีความสมบูรณ์ตามลักษณะของวัฒนธรรมทุกประการ  ดังนั้นวิชาดาบสองมือจึงเป็นวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติไทย  ที่ควรแก่การรักษาทำนุบำรุงและส่งเสริมให้คงอยู่คู่ชาติตลอดไป




กีฬาฟันดาบไทย



กติกาการเล่นการฟันดาบไทย(สำหรับกีฬาแข่งขัน)
การ ปฏิบัติตนของนักกีฬาก่อนเริ่มทำการแข่งขันเมื่อเจ้าหน้าที่เรียกนักกีฬาลงสนามแข่งขัน ให้นักกีฬาทั้งสองฝ่ายมายืนอยู่กลางสนามต่อหน้ากรรมการผู้ตัดสิน นักกีฬาทั้ง ฝ่าย ทำความเคารพกรรมการผู้ตัดสิน และคู่ต่อสู้ โดยการไหว้ ตามแบบขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย แล้วแยกกันออกไปยืนจรดดาบห่างกัน (นอกระยะดาบ) คอยฟังกรรมการผู้ตัดสินออกคำสั่งให้เริ่มการต่อสู้
การ ต่อสู้ของนักกีฬา
เมื่อทั้ง ฝ่าย พร้อมทำการต่อสู้ กรรมการผู้ตัดสินจะออกคำสั่งให้นักกีฬาต่อสู้กัน โดยคู่ต่อสู้มีสิทธิ์ที่จะใช้อาวุธฟันเข้าตามร่างกายทุกส่วนของคู่ต่อสู้ เช่น ศีรษะ แขน ขา ลำตัว เป็นต้น การฟันดังกล่าวจะต้องไม่เป็นการกระทำที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ โดยขาดหลักวิชาการต่อสู้ ขาดเหตุผล ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่คู่ต่อสู้ อันเป็นการผิดวิสัยของนักกีฬาฟันดาบ นอกจากนี้การเข้าไปฟันคู่ต่อสู้ จะต้องระวังการตอบโต้จากคู่ต่อสู้ด้วยการปิดป้องอาวุธฝ่ายตรงข้าม เพื่อป้องกันตัวเองให้ได้ด้วย
การ ได้เสียคะแนนของนักกีฬา
ฝ่ายที่ถูกคู่ต่อสู้เข้าฟันโดนร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วไม่สามารถโต้ตอบกลับไปโดนร่างกายคู่ต่อสู้ได้ทันที ให้เป็นฝ่ายเสียคะแนน คะแนน
การ นับคะแนนแพ้ชนะ
1. นักกีฬาฝ่ายใดเสียคะแนนน้อยกว่า ในระยะเวลาที่กำหนด เป็นฝ่ายชนะ
2. นักกีฬาฝ่ายใดเสียคะแนนถึง คะแนน ก่อนหมดเวลาการแข่งขันที่กำหนดให้เป็นฝ่ายแพ้
เวลา ที่ใช้ทำการแข่งขัน

1. นักกีฬาชาย ใช้เวลาแข่งขัน นาที
 2. นักกีฬาหญิง ใช้เวลาแข่งขัน นาที
การ ทำหน้าที่ของคณะกรรมการตัดสิน

การแข่งขันแต่ละครั้ง จะมีกรรมการผู้ตัดสิน และกรรมการผู้ช่วยผู้ตัดสินดังนี้
1. กรรมการผู้ช่วยผู้ตัดสิน คน เป็นผู้ออกคำสั่งให้นักกีฬาเริ่มทำการต่อสู้ และหยุดทำการต่อสู้ เมื่อจะทำการวินิจฉัยการเข้าฟันคู่ต่อสู้ และตัดสินชี้ขาดการให้คะแนนแก่นักกีฬา 2. กรรมการผู้ช่วยผู้ตัดสินจำนวน คน เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้ตัดสินโดยให้คำปรึกษาแก่กรรมการผู้ตัดสิน หลังจากการสั่งหยุดการต่อสู้ เพื่อวินิจฉัยผลการตัดสินแต่ละครั้ง นอกจากนี้ยังช่วยดูแลการออกนอกวงของนักกีฬาทั้งคู่ ความบกพร่องของอาวุธขณะทำการต่อสู้ การแต่งกายของนักกีฬาเป็นต้น 
 3. กรรมการเทคนิค เป็นผู้ควบคุมการตัดสิน ให้คำปรึกษาในกรณีเกิดปัญหาขณะการแข่งขัน





                                   ดาบสองมือทีมชาย กีฬาดาบไทย พลศึกษาเกมส์ ครั้งที่ 39





                                   ดาบสองมือทีมหญิง กีฬาดาบไทย พลศึกษาเกมส์ ครั้งที่ 39


                                                     กีฬาฟันดาบไทย รายการขุนพลจุฬา









                          

"ขอบจบเรื่องนี้ไว้เเค่นี้ก่อนนะค่ะ ถ้ามีข้อมูลใหม่ๆมา เอาไว้จะมาอัปเดตให้ ไปแล้วน้าาา  บ๊ายย บายยย"


เครดิต
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
http://picaisilih.blogspot.com/

ความคิดเห็น

  1. น่าเรียนอ้ะ แต่จะเจ็บมือมั้ยเนี่ย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เจ็บมือแน่นอนครับช่วงแรก เพราะเรายังรับไม่เป็นฟันไม่เป็น แต่พอฝึกไประยะนึงปัญหานี้จะหายไปเอง

      ลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Week1 เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน

           "สวัสดีค่าาาาา  เพื่อนๆที่น่ารักทุกคนหรือท่านผู้ที่แวะผ่านเข้ามาเยี่ยมชม  ก่อนอื่นเราขอแนะนำตัวอย่างเป็นทางการก่อนนะว่า เราชื่อว่า จูน เพิ่งเริ่มทำการสร้างบล็อกเป็นครั้งแรก  ฝากเพื่อนๆมาติดตามหรือลงความคิดเห็นได้ไว้ได้เลย ว่าคิดอย่างไรกับบล็อกนี้กันบ้าง  "              Week1 เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน ที่มา คลิกเลย ในโลกของยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ชีวิตของมนุษย์ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการใช้งานในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ  จึงไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เลยว่าเทคโนโลยีนั้นมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์  ซึ่งมนุษย์ทุกคนล้วนมีการใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตในหลายๆด้าน  ตั้งแต่การตื่นนอนจนถึงการเข้านอน ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง ที่ชีวิตประจำวันมีแต่ความเร่งรีบต้องแข่งขันกับเวลา การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานแล้วยังช่วยย่นระยะเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้สั้นล

Week 9 :เรื่องราวที่นักเรียนสนใจ (3) ขนมมงคลไทย 9 อย่าง

Week 9 :เรื่องราวที่นักเรียนสนใจ (3)  ขนมมงคลไทย 9 อย่าง "สวัสดีค่ะเพื่อนๆ และแล้วก็มาถึงสัปดาห์ที่9แล้ว  ในสัปดาห์นี้เราจะมาเเนะนำขนมไทยที่ใช้ในงานมงคลซึ่งโดยหลักๆแล้วก็มีกันอยู่ 9 ชนิดด้วยกัน เเต่ก่อนอื่นเราควรไปรู้จัก ที่มาของ ขนมไทย กันก่อนไปดูกันเลย "  ประวัติความเป็นมาของขนมไทย         ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ งานแต่ง เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม        ขนมไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมคือ แป้ง น้ำตาล กะทิ เท่านั้น ส่วนขนมที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน นั้น มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (ท้าวทองกีบม้า) หญิงสาวชาวโปรตุเกส เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา       ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้ง