Week 4 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ภาษา C)
ผู้สร้างภาษา C#
"สวัสดีค่าาาา เพื่อนๆ กลับพบกันอีกแล้วใน Week 4 ซึ่งในสัปดาห์นี้เราจะมาพูดถึง โปรแกรมภาษาของคอมพิวเตอร์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือภาษา C# ไปดูกันเลยค่ะ"
ที่มาของรูป |
โปรแกรมภาษา C#
"ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเบื้องต้นของ C# กันก่อนดีกว่าาา"
ทําความรู้ จักกับภาษา C# เบื้องต้น
ชื่อภาษา C#
ภาษา C# จะเขียนว่า C Sharp ก็ได้ (อ่านว่าซีชาร์พ) เครื่องหมาย # ในทางดนตรีหมายถึงครึ่งเสียง ส่วนคำว่า Sharp หมายถึงเฉียบคม มีไหวพริบ บริษัทไมโครซอฟท์ตั้งชื่อภาษานี้ว่า C# เพื่อจะสื่อให้เห็นว่านี่คือภาษาในตระกูลภาษา C เช่นเดียวกับภาษา C++ คือเป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดจากภาษา C หากท่านสังเกตให้ดีจะเห็นว่าสัญลักษณ์ # จะมองให้เป็นเครื่องหมาย + สี่อันนำมาซ้อนกันก็ได้ แสดงเป็นนัยว่าภาษานี้ก้าวหน้ากว่าภาษา C++ ไปอีกระดับหนึ่ง (คือเป็นภาษา C++++) สัญลักษณ์ # นี้มีปรากฏในภาษาอื่นๆ ของ .NET ด้วย เช่นภาษา J#(เดิมคือภาษา J++) และภาษา A# (เหมือนภาษา Ada) อาจเป็นเพื่อเหตุผลการการค้า
ภาษา C# คืออะไร
ภาษา C# เป็นภาษาที่ใหม่มากๆ ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในปี 2000 และถูกอัพเดตเวอร์ชันอยู่เสมอ มันเป็นภาษาที่ได้รับอธิพลจากภาษาก่อนหน้าเช่นภาษา Delphi ภาษา C++ ภาษา Java และภาษา Eiffel ในตอนต้นภาษานี้ถูกออกแบบ และกำหนดลักษณะโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ต่อมาได้ถูกรับรองจากหน่วยงาน ECMA (หน่วยงานกำหนดมาตรฐานสากลด้านสารสนเทศ) และ ISO แต่ปัจจุบันไมโครซอฟท์ยังพัฒนาภาษานี้อย่างต่อเนื่อง (ปัจจุบันเป็นเวอร์ชัน 3.0)
ภาษา C# ถูกพัฒนาขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ .NET Framework เป็นการการนำข้อดีของภาษาต่างๆ (เช่นภาษา Delphi ภาษา C++) มาปรับปรุงเพื่อให้มีความเป็น OOP อย่างถึงที่สุด ขณะเดียวกันก็ลดความซับซ้อนในโครงสร้างของภาษาลง (เรียบง่ายกว่าภาษา C++) และมีเครื่องแต่งตัวน้อยลง (เมื่อเทียบกับ Java)
ชื่อภาษา C# Microsoft Visual C# .net |
ประวัติภาษา C#
ที่มาของรูป : บริษัท Microsoft |
ภาษาซีชาร์ป (C# Programming Language) เป็นภาษาที่พัฒนามาจากจากบริษัท Microsoft ซึ่งมี Anders Hejlsberg เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งตอนนั้นได้ทำการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงวัตถุ 100% โดยได้นำเอาหลักการ ข้อดีของภาษา C, C++ และ JAVA มาเป็นต้นแบบในการพัฒนา ซึ่งทำงานอยู่บน .NET Framework
โดยปัจจุบันภาษาC#เป็นภาษามาตรฐานรองรับโดย ECMA และ ISO ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาและปรับรูปแบบของ ภาษา C# อยู่ตลอดเวลาโดยทาง Microsoft ได้นำภาษา C# ไปอยู่ในชุดพัฒนา software อย่าง visual studio ซึ่งทำให้เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น ไมโครซอฟท์ส่งมาตรฐานภาษาC#ให้กับ ECMA และได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐาน ECMA ในเดือนธันวาคม ค.ศ.2001 ในชื่อว่า ECMA-334 C# Language Specification ใน ค.ศ.2003 ภาษาC#ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐาน ISO (ISO/IEC 23270) มาตราฐาน ISO/IEC 23270:2003 ระบุรูปแบบ และกำหนดการแปล (ตีความ) โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาC# โดยตัวมาตรฐานได้ระบุ:
* รูปแบบการนำเสนอ
* ไวยากรณ์
* กฎการตีความสำหรับแปลโปรแกรมภาษาC#
* ข้อห้าม และข้อจำกัด ของเครื่องมือที่สร้างตามข้อกำหนดของC#
ISO/IEC 23270:2003 ไม่ได้ระบุ
* กลไกในการแปลงโปรแกรมภาษา C# เพื่อใช้ในระบบประมวลผลข้อมูล
* กลไกในการเรียกให้โปรแกรมภาษา C# ทำงาน เพื่อใช้ในระบบประมวลผลข้อมูล
* กลไกในการแปลงข้อมูลเข้า เพื่อใช้กับโปรแกรมภาษา C#
* กลไกในการแปลงข้อมูลออก หลังจากถูกประมวลผลโดยโปรแกรมภาษา C#
นอกจากนี้ตัวมาตรฐานไม่ได้กล่าวถึง โครงสร้างข้อมูล(Data Structure) และตัว Library กลางของ .NET Framework ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C#
รูปแสดงประวัติการพัฒนาภาษา C# |
Anders Hejlsberg บิดาของภาษา C# |
ผู้สร้างภาษา C# คือบริษัทไมโครซอฟท์ แต่บิดาของภาษา C# คือ Anders Hejlsberg (แอนเดรส ฮาเยสเบิร์ก) ไมโครซอฟท์ต้องการให้ภาษา C# เป็น “อะไรที่จะอยู่ไปอีกนาน” เหมือนบริษัทรถยนต์โฟลค์ที่จ้าง Ferdinand Porsche (เฟอร์ดินันด์ พอร์ช) นักออกแบบรถยนต์มือดีมาออกแบบรถโฟลคเต่า (เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง) ทำให้มันกลายเป็นรถยนต์คลาสสิกมาจนถึงปัจจุบัน ในทำนองเดียวกันเมื่อต้องการภาษาที่ต้องการให้กลายเป็นภาษา “คลาสสิก” บริษัทไมโครซอฟท์ตัดสินใจมอบหมายให้ Hejlsberg บรมครูนักออกแบบภาษา ผู้เคยสร้างภาษาที่กลายเป็นตำนานมาแล้วเช่น Turbo Pascal และผู้นำในทีมสร้างภาษา Delphi
" ใครๆ ก็สร้างภาษาใหม่ได้ไม่ยากเลย เพียงแต่ภาษาที่สร้างออกมานั้นดีจริงๆหรือเปล่านั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง สำหรับภาษา C# Hejlsberg ไม่เพียงสร้างภาษาที่ใช้งานได้ดีเท่านั้น เขายังเน้นเรื่อง “ความมีรสนิยม” และ “ความสง่างาม” เพราะต้องการให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมภาษา C# ได้อย่างมีความสุข"
จุดเด่นของC#
ที่มา http://www.bouncycastle.org/images/csharp_logo.gif |
เป็นรูปแบบของภาษาที่ทำงานเป็นลำดับ(Sequential)และต้องผ่านการแปลงไฟล์ให้อยู่ในรูปแบบ
พร้อมใช้งานหรือ EXE file (ที่เรียกว่าการ Compile) เช่นเดียวกับภาษา C โดย C# เป็นภาษาที่ถูกผลักดัน
โดยบริษัทไมโครซอฟท์ให้ออกมายิ่งใหญ่โดยมีจุดเด่นดังนี้
- เขียนคล่อง C#มีเครื่องมือในการช่วยเขียนอย่าง Visual Studio ที่มีฟีเจอร์ในการไฮไลท์โค้ด
และส่วนช่วยในการเขียนโปรแกรมที่สะดวกมาก
- เขียนง่ายจุดเด่นของตัวแปรและอ๊อบเจ็กต์บน C# เด่นชัดในเรื่องของการจัดการ
คุณสมบัติ (Properties) และการตั้งค่าเริ่มต้นที่ช่วยให้สามารถพัฒนาระบบได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
- อ่านง่าย การจัดระเบียบโดยตัว Visual Studio เป็นส่วนที่ผมชอบที่สุดเลยก็ว่าได้
คุณเขียนโค้ดไปซักพักหนึ่ง จะเริ่มรู้สึกลายตากับย่อหน้าที่งงๆ แต่ Visual Studio
โดยปกติเมื่อจะจัดการกับย่อหน้าทั้งหมดเหล่านั้นให้อยู่ในระเบียบสะอาดตาที่สุดเลยทีเดียว
- เป็นอ็อบเจ็กต์ เนื่องจากภาษา C# นั้นมีแม่แบบมาจากภาษา Java
ซึ่งจุดเด่นคือการทำทุกสิ่งให้เป็นวัตถุ (Object) ทำให้สามารถเขียนและพัฒนาได้ง่าย
- ประสิทธิภาพสูง C# เป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นมาภายใต้ .NET Framework
ซึ่งสามารถดึงเอาความสามารถของเทคโนโลยีบน .NET ออกมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- สามารถทำงานระดับลึก ภาษา C# สามารถทำงานกับหน่วยความจำรวมถึงระบบคอมพิวเตอร์ใน
ระดับลึก โดยผ่าน พอยเตอร์ (Pointer) หรือทำงานกับโปรโตคอล TCP/IPที่ต่ำกว่าระดับ4ได้
- เน้นที่ XML C# ออกแบบมาเพื่อใช้งานร่วมกับXMLได้อย่างราบรื่นที่สุดด้วยความช่วยเหลือของ .NET Framework
- คุณสมบัติGeneric type ช่วยยืดหยุ่นในการประกาศตัวแปล
- เทคโนโลยี LINQ ช่วยในการทำงานกับฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มาของรูป |
แต่จุดเด่นหลักๆ ของภาษา C# ก็มีดังนี้
1.Component oriented – เป็นภาษาที่เน้นชิ้นส่วนโดยถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีทำให้สามารถนำมาใช้ต่อกันเป็นอะไรก็ได้
2.สิ่งต่าง ๆ ใน C# เป็นออบเจ็กต์ทั้งหมด
3.เป็นภาษา ที่ทนทาน (robust) – ทนต่อความผิดพลาด ไม่ทำให้ระบบแฮงก์หรือระบบทำงานช้า เพราะ C# มีข้อดีคือ garbage collection , exception , type-safety และ versioning
4.ภาษา C# จัดเตรียมกลไกไว้หลายอย่างที่ช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถนำโค้ดที่เขียนไว้ในโปรเจค หนึ่งไปใช้กับอีกโปรเจคหนึ่งได้ง่าย นอกจากนั้นภาษา C# ยังสามารถเรียกใช้คลาสหลายพันคลาสใน .NET Framework ได้โดยตรง ทำให้ลดเวลาการพัฒนาซอฟท์แวร์ได้มากขึ้น
"เอาล่ะวันนี้เราก็ขอจบเนื้อหาประมาณนี้นะ ถ้าใครมีข้อเสนอแนะหรือแนะนำก็สามารถมา comments กันได้นะค่าาาา บ๊ายบายยยย"
เครดิต :
http://tonkung.ueuo.com/Creator.html
http://nantayut.cs.ubru.ac.th/file_download/TechnicProgaming/01chapter.pdf
https://thaioop.wordpress.com/2006/11/22/%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99-11-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2-c-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99/
https://nipaponkumprom.wordpress.com/2015/02/01/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2-c-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น