" สวัสดีค่าาาาา เจอกันอีกแล้วน้าา วันนี้อยากจะมาเสนอสิ่งที่ตัวเองชอบล้วนๆเลย ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง "
กีฬาดาบสองมือ
ดาบไทย |
ประวัติความเป็นมาของวิชาดาบสองมือ
ดาบสองมือ เป็นกีฬาประเภทการต่อสู้ป้องกันตัวดั้งเดิมของไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นกระบี่กระบอง ได้ดัดแปลงมาจากลักษณะและรูปแบบการรบในสมัยโบราณ การรบในสมัยโบราณเป็นการรบที่ใกล้ตัวในระยะประชั้นชิด อาวุธที่ใช้นอกจากดาบแล้วยังมี กระบี่ โล่ ดั้ง ง้าว ทวน พลอง เป็นต้น กีฬาการเล่นดาบสองมือเป็นการรบจำลองนั่นเอง เป็นการเอาหวายมาทำเป็นดาบแล้วจัดมาตีกันเล่นหรือแข่งขันกันเป็นคู่ๆ ดุจจะสู้กันในสนามรบกันตัวต่อตัว (นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ๒๕๑๓ : ๖)
ในสมัยก่อนที่จะตั้งกรุงสุโขทัยเป็นเมืองหลวง ได้มีการพบซากและร่องรอยของเมืองโบราณอยู่ทั่วไปในแผ่นดินไทย เช่น ภาคกลางปรากฏมีร่องรอยของวัฒนธรรมแบบทวาราวดี ภาคใต้มีปรากฏร่องรอยวัฒนธรรมแบบศรีวิชัย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนล่างก็มีร่องรอยของวัฒนธรรมแบบลพบุรี ซึ่งแต่ละภาคมีวัฒนธรรมโบราณหลงเหลืออยู่เหล่านี้ ล้วนมีหลักฐานที่แสดงถึงรูปแบบอาวุธที่ใช้ในการรบอยู่ ทั้งจากปูนปั้นเล่าเรื่องประดับรอบฐานเจดีย์ ภาพสลักตามระเบียง ทับหลังของปราสาทหิน ตลอดจนประติมากรรมลอยตัวอื่นๆ ซึ่งอาวุธที่มีมากได้แก่ ดาบ ธนู หน้าไม้ หอก ง้าว เป็นต้น ( ณัฐภัทร จันทวิช ๒๕๒๕ : ๔๐๑ )
สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ประเทศไทยยังมีการทำสงครามอยู่เป็นประจำ จึงมีการรบรวบรวมไพร่พลฝึกหัดการต่อสู้ด้วยการใช้อาวุธ และการใช้อวัยวะในร่างกายในการทำร้ายคู่ต่อสู้หรือที่เรียกว่า การต่อสู้ด้วยมือเปล่า ( ประกอบ โชประการ ๒๕๐๘ : ๖๐ ) เด็ก
ชายไทยทุกคนไม่ว่าเป็นลูกของสามัญชนหรือลูกกษัตริย์จะต้องได้รับการฝึกฝนการ
ใช้อาวุธพร้อมๆ ไปกับการเรียนหนังสือและการฝึกวิชาชีพต่างๆ
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเตรียมพร้อมในการทำสงครามกับชาติที่มารุกราน สถานที่ที่ใช้สำหรับฝึกหัดได้แก่ สำนักต่างๆและวัดวาอาราม ผู้สอนคือพระภิกษุและชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถทางด้านกระบี่กระบอง การเรียนสมัยก่อนมุ่งภาคปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎี การจดเป็นลายลักษณ์อักษรไม่มี สมัยต่อมามีการดัดแปลงแก้ไขให้เรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พยายามอบรมสั่งสอนเป็นขั้นตอน มีระเบียบแบบแผนและพยายามค้นคว้าและเขียนเป็นตำราขึ้น โดยการสันนิษฐานจากประสบการณ์ การไต่ถามผู้รู้แล้วตั้งเป็นทฤษฎีเป็นหลักเกณฑ์ขึ้น ( สมบัติ จำปาเงิน ๒๕๒๕ : ๒
ในปัจจุบัน การเล่นดาบสองมือยังได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไป จะเห็นได้จากมีคณะและสำนักดาบเกิดขึ้นอย่างมาก เช่น สำนักดาบศรีบุญยานนท์ สำนักดาบพุธไธสวรรค์ สำนักดาบศรีไตรรัตน์ เป็นต้น และมีการแสดงในงานสมโภชต่างๆโดยทั่วไป โดยเฉพาะที่ท้องสนามหลวง มีการแสดงเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการเผยแพร่และคงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมไทย
วิชาดาบสองมือ ถือว่าเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาติ เพราะเป็นการเล่น การแสดงและเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยอาวุธไทยสมัยโบราณ ซึ่งสามารถใช้อาวุธ รุก รับ ทำร้ายคู่ต่อสู้ได้ สามารถใช้หมัด ศอก เข่า เท้า ประกอบการต่อสู้เป็นพฤติกรรมที่เกิดจาการเรียนรู้ ทัศนคติ ค่านิยมและความเชื่อ เป็นสิ่งที่ชาวไทยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ เป็นกีฬาที่มีการผสมผสานระหว่างของเก่ากับของใหม่เข้าด้วยกัน เป็นสภาพที่มั่นคงยิ่งขึ้น เช่น มีกฎ กติกา ระเบียบวินัยในการแข่งขัน รวมทั้งมีการตัดสินแพ้ชนะด้วยคะแนน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเหตุการณ์ ซึ่งมีความสมบูรณ์ตามลักษณะของวัฒนธรรมทุกประการ ดังนั้นวิชาดาบสองมือจึงเป็นวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติไทย ที่ควรแก่การรักษาทำนุบำรุงและส่งเสริมให้คงอยู่คู่ชาติตลอดไป
กีฬาฟันดาบไทย |
กติกาการเล่นการฟันดาบไทย(สำหรับกีฬาแข่งขัน)
การ ปฏิบัติตนของนักกีฬาก่อนเริ่มทำการแข่งขันเมื่อเจ้าหน้าที่เรียกนักกีฬาลงสนามแข่งขัน ให้นักกีฬาทั้งสองฝ่ายมายืนอยู่กลางสนามต่อหน้ากรรมการผู้ตัดสิน นักกีฬาทั้ง 2 ฝ่าย
ทำความเคารพกรรมการผู้ตัดสิน และคู่ต่อสู้ โดยการไหว้
ตามแบบขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย แล้วแยกกันออกไปยืนจรดดาบห่างกัน
(นอกระยะดาบ) คอยฟังกรรมการผู้ตัดสินออกคำสั่งให้เริ่มการต่อสู้
การ ต่อสู้ของนักกีฬา
เมื่อทั้ง 2 ฝ่าย
พร้อมทำการต่อสู้ กรรมการผู้ตัดสินจะออกคำสั่งให้นักกีฬาต่อสู้กัน
โดยคู่ต่อสู้มีสิทธิ์ที่จะใช้อาวุธฟันเข้าตามร่างกายทุกส่วนของคู่ต่อสู้
เช่น ศีรษะ แขน ขา ลำตัว เป็นต้น
การฟันดังกล่าวจะต้องไม่เป็นการกระทำที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ
โดยขาดหลักวิชาการต่อสู้ ขาดเหตุผล ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่คู่ต่อสู้
อันเป็นการผิดวิสัยของนักกีฬาฟันดาบ นอกจากนี้การเข้าไปฟันคู่ต่อสู้
จะต้องระวังการตอบโต้จากคู่ต่อสู้ด้วยการปิดป้องอาวุธฝ่ายตรงข้าม
เพื่อป้องกันตัวเองให้ได้ด้วย
การ ได้เสียคะแนนของนักกีฬา
ฝ่ายที่ถูกคู่ต่อสู้เข้าฟันโดนร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วไม่สามารถโต้ตอบกลับไปโดนร่างกายคู่ต่อสู้ได้ทันที ให้เป็นฝ่ายเสียคะแนน 1 คะแนน
การ นับคะแนนแพ้ชนะ
1. นักกีฬาฝ่ายใดเสียคะแนนน้อยกว่า ในระยะเวลาที่กำหนด เป็นฝ่ายชนะ
2. นักกีฬาฝ่ายใดเสียคะแนนถึง 5 คะแนน ก่อนหมดเวลาการแข่งขันที่กำหนดให้เป็นฝ่ายแพ้
เวลา ที่ใช้ทำการแข่งขัน
1. นักกีฬาชาย ใช้เวลาแข่งขัน 4 นาที
2. นักกีฬาหญิง ใช้เวลาแข่งขัน 3 นาที
การ ทำหน้าที่ของคณะกรรมการตัดสิน
การแข่งขันแต่ละครั้ง จะมีกรรมการผู้ตัดสิน และกรรมการผู้ช่วยผู้ตัดสินดังนี้
1. กรรมการผู้ช่วยผู้ตัดสิน 1 คน
เป็นผู้ออกคำสั่งให้นักกีฬาเริ่มทำการต่อสู้ และหยุดทำการต่อสู้
เมื่อจะทำการวินิจฉัยการเข้าฟันคู่ต่อสู้
และตัดสินชี้ขาดการให้คะแนนแก่นักกีฬา 2. กรรมการผู้ช่วยผู้ตัดสินจำนวน 4 คน
เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้ตัดสินโดยให้คำปรึกษาแก่กรรมการผู้ตัดสิน
หลังจากการสั่งหยุดการต่อสู้ เพื่อวินิจฉัยผลการตัดสินแต่ละครั้ง
นอกจากนี้ยังช่วยดูแลการออกนอกวงของนักกีฬาทั้งคู่
ความบกพร่องของอาวุธขณะทำการต่อสู้ การแต่งกายของนักกีฬาเป็นต้น 3. กรรมการเทคนิค เป็นผู้ควบคุมการตัดสิน ให้คำปรึกษาในกรณีเกิดปัญหาขณะการแข่งขัน
"ขอบจบเรื่องนี้ไว้เเค่นี้ก่อนนะค่ะ ถ้ามีข้อมูลใหม่ๆมา เอาไว้จะมาอัปเดตให้ ไปแล้วน้าาา บ๊ายย บายยย"
เครดิต
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
http://picaisilih.blogspot.com/
น่าเรียนอ้ะ แต่จะเจ็บมือมั้ยเนี่ย
ตอบลบเจ็บมือแน่นอนครับช่วงแรก เพราะเรายังรับไม่เป็นฟันไม่เป็น แต่พอฝึกไประยะนึงปัญหานี้จะหายไปเอง
ลบ