ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

WEEK 7 คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Week 7 คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

      "สวัสดีค่าาาา ทุกๆคน และแล้วเราก็ได้มาพบกัน ใน Weekที่ 7 ซึ่งในอาทิตย์นี้เราจะมาอธิบายเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หวังว่ามันพอจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆทุกคนนะ ไปดูกันเลย "





      ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(Computer Network)หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน(Shared Resource)ในเครือข่ายนั้น 
    
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ 1.คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) 
2.ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel)  
3.สถานีงาน (Workstation or Terminal)
4.อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)



-------------------------------------------------------

คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า  Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล



ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image004.jpg
รูปแสดงช่องทางการสื่อสารโดยใช้จานรับดาวเทียม



สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

อุปกรณ์ในเครือข่าย

การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image006.jpg
รูปแสดงการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย
โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image008.jpg
รูปแสดงการใช้โมเด็มในการติดต่อเครือข่ายระยะไกล

ฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ

รูปภาพ ฮับ



สวิตซ์ เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ กล่าวคือ การรับส่งข้อมูลจากสถานี (อุปกรณ์) ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานี (อุปกรณ์) เหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูล(แพ็กเก็ต) มาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่ามา แอดเดรสของสถานีปลายทางไปที่ใด สวิตช์จะนำแพ็กเก็ตหรือกลุ่มข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังสถานี (อุปกรณ์) เป้าหมายให้อย่างอัตโนมัติ สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย

รูปภาพสวิตซ์

--------------------------------------------------------------------------------------------------

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

     -ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล

     -ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล

     -ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล

     -สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล

     -โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล

ชนิดของสัญญาณข้อมูล

     -สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal)

     -สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal)

     โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก

ทิศทางของการส่งข้อมูล สามารถจำแนกได้ 3 รูปแบบ คือ

     1.การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)

     2.การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)

     3.การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)

เทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่าย มีสื่อนำข้อมูลอยู่ 2 แบบ คือ

     1.สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย (Wired Media) มีสายที่นิยมใช้อยู่ 3 ชนิด

        -สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)

        -สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)


        -สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber Cable)




     2.สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น แสงอินฟราเรด (Infrared) สัญญาณวิทยุ (Radio Wave) ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave)

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal Area Network : PAN)
เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ แลน (Local Area Network : LAN)
เครือข่ายนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan Area Network : MAN)

เครือข่ายขนาดใหญ่ หรือ แวน (Wide Area Network : WAN)


      การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป โดยทึ่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้

1.โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส(bus topology)

      โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส ประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีคือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม 
แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา

ขอบคุณภาพจาก http://www.krucomp.net/net/images/80.gif

 2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)

      โครงสร้างเครือข่ายแบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อยและถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง


http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/ring_topology.jpg
      


 3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)


      โครงสร้างเครือข่ายแบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุดศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย


http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/STAR.JPG


4. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช (mesh topology)

      โครงสร้างเครือข่ายแบบเมช มีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆทุกเครื่อง โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูล ได้อิสระไม่ต้องรอการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลก็สูงด้วยเช่นกัน




5. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม (hybrid topology)


      โครงสร้างเครือข่ายแบบผสมเป็นโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานความสามารถของโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ แบบรวมกัน ประกอบด้วยเครือข่าย คอมพิวเตอร์ย่อยๆ หลายเครือข่ายที่มีโครงสร้างแตกต่างกันมาเชื่อมต่อกันตามความเหมาะสม ทำให้เกิดเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสารข้อมูล



"หวังว่าพอจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆนะ บ๊ายบายยยย "

---------------------------------------------------------------------------------------------------

เครดิต

http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.html
http://thidarat123.blogspot.com/2012/01/topology.html
http://hugp32.blogspot.com/2012/07/blog-post.html



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

week2 เรื่องราวที่นักเรียนสนใจ(1) ดาบสองมือ

                          " สวัสดีค่าาาาา  เจอกันอีกแล้วน้าา วันนี้อยากจะมาเสนอสิ่งที่ตัวเองชอบล้วนๆเลย ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง " กีฬาดาบสองมือ ดาบไทย ประวัติความเป็นมาของวิชาดาบสองมือ   ดาบสองมือ    เป็นกีฬาประเภทการต่อสู้ป้องกันตัวดั้งเดิมของไทยชนิดหนึ่ง    ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นกระบี่กระบอง    ได้ดัดแปลงมาจากลักษณะและรูปแบบการรบในสมัยโบราณ    การรบในสมัยโบราณเป็นการรบที่ใกล้ตัวในระยะประชั้นชิด    อาวุธที่ใช้นอกจากดาบแล้วยังมี    กระบี่    โล่    ดั้ง    ง้าว    ทวน    พลอง    เป็นต้น   กีฬาการเล่นดาบสองมือเป็นการรบจำลองนั่นเอง    เป็นการเอาหวายมาทำเป็นดาบแล้วจัดมาตีกันเล่นหรือแข่งขันกันเป็นคู่ๆ    ดุจจะสู้กันในสนามรบกันตัวต่อตัว   ( นาค   เทพหัสดิน    ณ    อยุธยา    ๒๕๑๓ :   ๖) ในสมัยก่อนที่จะตั้งกรุงสุโขทัยเป็นเมืองหลวง    ได้มีการพบซากและร่องรอยของเมืองโบราณอยู่ทั่วไปในแผ่นดินไทย    เช่น    ภาคกลางปรากฏมีร่องรอยของวัฒนธรรมแบบทวาราวดี    ภาคใต้มีปรากฏร่องรอยวัฒนธรรมแบบศรีวิชัย    และภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนล่างก็มีร่องรอยของวัฒนธ

Week1 เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน

           "สวัสดีค่าาาาา  เพื่อนๆที่น่ารักทุกคนหรือท่านผู้ที่แวะผ่านเข้ามาเยี่ยมชม  ก่อนอื่นเราขอแนะนำตัวอย่างเป็นทางการก่อนนะว่า เราชื่อว่า จูน เพิ่งเริ่มทำการสร้างบล็อกเป็นครั้งแรก  ฝากเพื่อนๆมาติดตามหรือลงความคิดเห็นได้ไว้ได้เลย ว่าคิดอย่างไรกับบล็อกนี้กันบ้าง  "              Week1 เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน ที่มา คลิกเลย ในโลกของยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ชีวิตของมนุษย์ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการใช้งานในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ  จึงไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เลยว่าเทคโนโลยีนั้นมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์  ซึ่งมนุษย์ทุกคนล้วนมีการใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตในหลายๆด้าน  ตั้งแต่การตื่นนอนจนถึงการเข้านอน ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง ที่ชีวิตประจำวันมีแต่ความเร่งรีบต้องแข่งขันกับเวลา การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานแล้วยังช่วยย่นระยะเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้สั้นล

Week 9 :เรื่องราวที่นักเรียนสนใจ (3) ขนมมงคลไทย 9 อย่าง

Week 9 :เรื่องราวที่นักเรียนสนใจ (3)  ขนมมงคลไทย 9 อย่าง "สวัสดีค่ะเพื่อนๆ และแล้วก็มาถึงสัปดาห์ที่9แล้ว  ในสัปดาห์นี้เราจะมาเเนะนำขนมไทยที่ใช้ในงานมงคลซึ่งโดยหลักๆแล้วก็มีกันอยู่ 9 ชนิดด้วยกัน เเต่ก่อนอื่นเราควรไปรู้จัก ที่มาของ ขนมไทย กันก่อนไปดูกันเลย "  ประวัติความเป็นมาของขนมไทย         ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ งานแต่ง เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม        ขนมไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมคือ แป้ง น้ำตาล กะทิ เท่านั้น ส่วนขนมที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน นั้น มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (ท้าวทองกีบม้า) หญิงสาวชาวโปรตุเกส เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา       ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้ง